วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย

 
กรุงเทพมหานคร
เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยที่เป็นเขตการปกครองแบบพิเศษ เป็นศูนย์กลางความเจริญ เศรษฐกิจ การค้า การเงิน การคมนาคมขนส่ง การสื่อสารของชาติ ได้รับการกำหนดให้เป็นเมืองหลวงของประเทศมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยย้ายมาจากกรุงธนบุรี

เชียงใหม่
เป็นจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากมีภูมิประเทศที่สวยงาม อากาศเย็นสบาย ผู้คนเป็นมิตร แแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ประเพณีวัฒนธรรมมีเอกลักษ์น่าสนใจ เชียงใหม่จึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของไทยมาตั้งแต่อดีต
นครราชสีมา
นครราชสีมาเปรียบเหมือนประตูสู่ภาคอีสาน เพราะเป็นทั้งศูนย์กลางด้านคมนาคม เศรษฐกิจ และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรมากมาย สถานที่ท่องเที่ยวก็ เช่น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

ภูเก็ต
เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีทิวทัศน์สวยงามจนได้ชื่อว่าเป็น ไข่มุกอันดามัน เสน่ห์ของภูเก็ต คือ ชายหาดสีขาว น้ำทะเลใส แนวปะการัง ความงามของทัศนียภาพ ประกอบกับเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่หล่อหลวมอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน ทำให้ภูเก็ตเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ทั้งชาวไทยและชางต่างชาติไปเยี่ยมเยือนมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

ที่มา: http://61.47.41.107/w/content/98/

ทรัพยากรษณ์ธรรมชาติที่สำคัญของประเทศไทย




          ทรัพยากรษณ์ธรรมชาติของไทยคือ ข้าว ยางพารา ผักและผลไม้ต่าง เนื้อสัตว์ วัว สุกร เป็ด ไก่ สัตว์น้ำทั้งปลาน้ำจืด หอย จึงได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิต อาหารที่สำคัญของโลก และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลกเป็นอันดับที่ 5 โดยมีข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญที่สุดของประเทศ และถือได้ว่าเป็นประเทศซึ่งส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลกด้วยสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 36 ของโลก
ไทยยังเป็นผู้ผลิตสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักร อาหาร สินค้าอุคสาหกรรม พลังงาน

          การท่องเที่ยวทำรายได้ให้กับประเทศเป็นสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับสัดส่วนของหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย (ราว 6% ของจีดีพี) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมายังประเทศไทยด้วยเหตุผลหลายประการ ส่วนใหญ่มาท่องเที่ยวตามชายหาดและพักผ่อน ถึงแม้ว่าจะมีความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ตาม โดยแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และจังหวัดเชียงใหม่

 

ที่มา:https://samita2039.wordpress.com

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของไทย


     1

    ได้รับอิทธิพลจากมอญ ขอม อินเดีย จีนและชาติตะวันตก แต่มีเอกลักษณ์ในด้านความงดงาม ประณีต และผูกพัน อยู่กับพระพุทธศาสนา
       การไหว้ เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมี สัมมาคารวะและให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทาย การไหว้ยังมีความหมายเพื่อการขอบคุณ ขอโทษ หรือ กล่าวลาด้วย
       โขน เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่ของไทย มีลักษณะสำคัญที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา ซึ่งแสดงโดยใช้ท่ารำและท่าทางประกอบทำนองเพลง ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์และบทเจรจาส่วนเรื่อง ที่นิยมแสดงคือ รามเกียรติ์
        สงกรานต์ ประเพณีเก่าแก่ ซึ่งถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติกัน โดยจะมีการ รดน้ำ ขอพรผู้ใหญ่ สรงน้ำพระ ทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทราย รวมทั้งมีการเล่น สาดน้ำเพื่อความสนุกสนานด้วย
   

ที่มา: http://www.ceted.org/

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ระบบเศรษฐกิจของไทย




         ประเทศไทยเมื่อราวร้อยปีที่แล้วเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง ผลผลิตที่สำคัญที่สุดคือ ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งนอกจากการกสิกรรมแล้ว ยังรวมถึงผลผลิตจากป่าไม้ การเลี้ยงสัตว์และจับสัตว์น้ำด้วย แต่เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนเป็นแบบผลิตเพื่อขายหรือระบบทุนนิยมมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา มูลค่าผลผลิตอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงเพิ่มขึ้นตามลำดับจนแซงหน้าเกษตรในปี พ.ศ.2524

          ในปัจจุบันแม้ว่าการเกษตรจะเป็นอาชีพหลักของประชากรไทยในแง่ที่ว่าแรงงานร้อยละ 50 ยังคงทำงานภาคเกษตร แต่มูลค่าของผลผลิตจากการเกษตร (รวมทั้งปศุสัตว์ ประมง ป่าไม้) ที่คิดอยู่ในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ มีเพียงราวร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมเท่านั้น

โครงสร้างการผลิตของไทยในปัจจุบันเศรษฐกิจสาขาที่มีมูลค่าสูงสุด คือ อุตสาหกรรม รองลงมาคือ การค้าส่งและค้าปลีก และบริการ (ที่รวมถึงการท่องเที่ยว การให้บริการต่าง ๆ ) การขนส่งและการคมนาคม สาขาการธนาคาร ประกันภัยและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ  แต่การที่ประชากรไทยส่วนใหญ่ ยังอยู่ในภาคเกษตร ทำให้จริง ๆ แล้วเศรษฐกิจภาคเกษตรของไทยยังมีความสำคัญสูงอยู่ ภาคเกษตรทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในกิจการค้า การแปรรูปอุตสาหกรรม และอื่น ๆ สูง และเกษตรกรเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ การที่โครงสร้างการผลิตของคนไทยส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาคเกษตรที่ประสิทธิภาพการผลิตล้าหลังและมีรายได้ต่ำ ทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเติบโตอย่าไม่สมดุลและถึงจุดหนึ่งก็เริ่มมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอย


ที่มา:/www.gotoknow.org