วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สภาพอากาศประเทศไทย

ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมสองชนิด คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ


มรสุมตะวันตกเฉียงใต้
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดีอนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็น ลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย มาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น

 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคมจะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม



ที่มา:http://www.tmd.go.th/




ชุดประจำชาติไทย


ชุดประจำชาติไทย

สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม"
โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษจะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"

สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทย
ที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า

มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด
ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง
ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรง
ของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้

ชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
1. ชุดไทยเรือนต้น
2. ชุดไทยจิตรลดา

3. ชุดไทยอมรินทร์ 

4. ชุดไทยบรมพิมาน 

5. ชุดไทยจักรี

6. ชุดไทยจักรพรรดิ

7. ชุดไทยดุสิต

8. ชุดไทยศิวาลัย


ชุดไทยพระราชนิยม และเสื้อพระราชทาน - ประเทศไทย

ที่มา:https://sites.google.com

การเงินประเทศไทย



 ระบบการเงิน


ทำหน้าที่สำคัญในการเป็นตัวกลางระดมเงินทุนและจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจไปสู่ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ตลอดจนการให้บริการด้านการชำระราคาสินค้าและบริการ ระบบการเงินที่พัฒนา มีประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพย่อมสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
องค์ประกอบที่สำคัญของระบบการเงิน ประกอบด้วย สถาบันการเงิน ตลาดการเงิน และระบบการชำระเงิน ดังนี้
สถาบันการเงิน
ประเทศไทยมีสถาบันการเงิน 2 ประเภท ได้แก่

(1) สถาบันรับฝากเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่รับฝากเงิน ​สหกรณ์ออมทรัพย์ เครดิตยูเนี่ยน และกองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น

(2) สถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงิน เช่น กองทุนรวม บริษัทประกันภัยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทที่ให้สินเชื่อ บริษัทบริหารสินทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์ เป็นต้น

สถาบันการเงินมีขนาดสินทรัพย์รวม ณ สิ้นปี 2557 อยู่ที่ 36 ล้านล้านบาท หรือ 2.7 เท่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สถาบันรับฝากเงินมีบทบาทมากกว่าสถาบันการเงินประเภทอื่น โดยสถาบันรับฝากเงินมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 69.6 ขณะที่สถาบันการเงินที่ไม่รับฝากเงิน มีส่วนแบ่งที่ร้อยละ 30.4
ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นสถาบันรับฝากเงินที่มีบทบาทสำคัญมาก โดยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 47.9 และร้อยละ 15.0 ตามลำดับ เนื่องจากมีเครือข่ายสาขาจำนวนมากทำให้เข้าถึงภาคธุรกิจและประชาชนได้มากกว่าสถาบันการเงินประเภทอื่น โดย ณ สิ้นปี 2557 มีสาขารวมกันประมาณ 9,664 แห่งและตู้เอทีเอ็มกว่า 61,839 ตู้


ที่มา:https://www.bot.or.th

ประชากรประเทศไทย



สถิติจำนวนประชากรไทยนั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแหล่งอ้างอิงและวิธีการเก็บข้อมูล แต่โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่เกือบ 65 ล้านคน ถึง 67 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ข้อมูลทั้งหลาย อาทิ
65,124,716 คน (ตามประกาศสำนักทะเบียน กรมการปกครอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557) [1]
65,926,261 คน* (ตามสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ณ วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553) [2]
67,010,502 คน* (ประมาณการประชากร ณ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 โดยสหประชาชาติ)[3]
67,976,405 คน* (ประมาณการประชากร ณ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐอเมริกา) [4]* หมายเหตุ: นับคนไทยที่อยู่ในประเทศไทย คนไทยที่ออกนอกประเทศชั่วคราว และคนต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยเกิน 3 เดือน

และจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ [2] ซึ่งจะมีการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ ทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ ประเทศไทยมีประชากร 65,479,453 คน แบ่งเป็น ประชากรหญิง 33.4 ล้านคน (ร้อยละ 51.0) และชาย 32.1 ล้านคน (ร้อยละ 49.0) หรือคิดเป็นอัตราส่วนเพศ ชาย 96.2 คนต่อหญิง 100 คน เป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย 62.3 ล้านคน (ร้อยละ 95.1) และผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยอีก 3.2 ล้านคน (ร้อยละ 4.9)

ทั้งนี้ทั้งนั้น จากข้อมูลโดยสหประชาชาติ ประเทศไทยเป็นประเทศลำดับที่สามในทวีปเอเชียที่โครงสร้างประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รองจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้) โดยคาดหมายว่าสัดส่วนประชากรวัยทำงาน (อายุ 15 - 64 ปี) ของประเทศไทยจะถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 2017 คืออยู่ที่ร้อยละ 72 ของประชากรทั้งหมด และจะลดต่ำลงต่ำกว่าร้อยละ 60 ของประชากรก่อนปี ค.ศ. 2050 ในขณะเดียวจำนวนประชากรผู้สูงอายุ (มากกว่า 65 ปีขึ้นไป) จากอยู่ที่อัตราร้อยละ 8.9 ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2010 จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 19.5 ของประชากรทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนประชากรไทยในอนาคตที่คาดว่าจะลดลงและความสามารถในการพัฒนาประเทศในที่สุด


ที่มา:https://th.wikipedia.org

เศรษฐกิจประเทศไทย





ประเทศไทยมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกนิยมใช้กันเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือ รัฐสามารถเข้าไปมีส่วนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศได้ในหลายๆ ส่วน แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่เป็นของเอกชน มีการแข่งขันกันในด้านการผลิตและการขายตามระบบการค้าเสรี

เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การบริการ และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ โดยการส่งออกสินค้าทางการเกษตรยังคงทำรายได้สูงสุดให้กับประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้รายได้จากภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวจะมีความสำคัญมากขึ้นในระยะหลังก็ตาม รัฐบาลก็ยังมุ่งเน้นและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการเกษตรเป็นหลัก โดยมีข้าวเป็นผลผลิตและสินค้าที่สำคัญที่สุด ปัจจุบัน The Guinness Book of World Records ได้บันทึก ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1 ของโลก

ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญก็ได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปทางการเกษตร สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ และทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ คือ ดีบุก ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดิบ

สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการนั้น สถิติในปี พ.ศ. 2547 ระบุว่ามีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในเวลา 1 ปี เป็นจำนวนถึง 11.65 ล้านคน โดยร้อยละ 56.52 เป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศในเขตเอเชียตะวันออกและอาเซียน (เป็นชาวมาเลเซียมากที่สุดถึงร้อยละ 11.97) จากประเทศในทวีปยุโรปร้อยละ 24.29 และจากทวีปอเมริกาเหนือและใต้รวมกันร้อยละ 7.02

ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และการพัฒนาการผลิตเพื่อส่งออก จึงมุ่งเน้นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้ ด้วยการชักชวนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุนทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น


ทีมา:http://thai.tourismthailand.org/

การเกษตรประเทศไทย



เกษตรกรรมในประเทศไทย




มีลักษณะแข่งขันสูง หลากหลายและเจนจัด การส่งออกของไทยประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในระดับนานาชาติ ข้าวเจ้าเป็นพืชผลสำคัญที่สุดของประเทศ ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ไปยังตลาดข้าวโลก โภคภัณฑ์การเกษตรอื่นมีทั้งปลาและผลิตภัณฑ์ปลา มันสำปะหลัง ยาง ธัญพืชและน้ำตาล การส่งออกอาหารแปรรูปทางอุตสาหกรรม เช่น ทูน่ากระป๋อง สับปะรด และกุ้งแช่แข็งกำลังมีเพิ่มขึ้น


การประกอบอาชีพด้านการเกษตร
เกษตรกรรมในประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายด้าน คือ
การทำนา มีการทำทุกภาค แต่ภาคกลางมีการทำนามากที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ทำนามากที่สุดของประเทศ(ภาคอีสานเป็นพื้นที่ใหญ่ควรจะเป็นพื้นที่ทำนามากที่สุดเพราะในภาคอีสานทุกจังหวัดทำนาครับ)
การทำสวนยางพารา พบมากในภาคใต้และจังหวัดจันทบุรี ตลอดจนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวไทย นอกจากนี้ ยังมีการปลูกสวนปาล์มน้ำมันด้วยเช่นกัน
การทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลำไย ส้ม สับปะรด แตงโม กล้วย ขนุน มะม่วง ละมุด พุทรา องุ่น น้อยหน่า ลางสาด
การทำพืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย ปอ ฝ้าย นุ่น ละหุ่ง มะพร้าว มันสำปะหลัง ยาสูบ พริกไทย ตาล ถั่วต่าง ๆ
การเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร โค กระบือ เป็ด ไก่ ห่าน ไหม ช้าง ม้า ลา ล่อ



ที่มา:https://th.wikipedia.org

อาหารประจำชาติไทย

อาหารประจำชาติไทย


                     
ต้มยำ กุ้ง (Tom Yam Goong) 
ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารประเภทแกง เป็นอาหารคาวที่รับประทานกับข้าวสวย รับประทานกันทั่วทุกภาค
ในประเทศเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย ชาวต่างชาติ จะรู้จักต้มยำ
ในรูปของต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่น ๆ โดยต้มยำจะใส่เนื้อสัตว์อะไรก็ได้ เช่น กุ้ง หมู ไก่ ปลา หัวปลา
หรือจะไม่ใส่เนื้อสัตว์เลยก็ได้ ผักที่นิยมใส่มากที่สุดในต้มยำ ได้แก่ ใบมะกรูด ตะไคร้ ข่า พริก ผักอื่น ๆ
ที่นิยมใส่รองลงมาได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดหูหนู เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า หัวปลี ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำ
เป็นต้องใส่คือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาล น้ำพริกเผา



                             
  ส้มตำ
 ส้มตำ เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ของไทยและ
 ประเทศลาว



                                 
 ผัดไทย
ผัดไทยได้กลายมาเป็นอาหารที่รู้จักกัน แพร่หลายจนกระทั่งตั้งแต่ สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ท่านได้รณรงค์ให้คนไทยมารับประทานผัดไทย เนื่องจากผัดไทยเป็นอาหารที่นิยมมาก จึงหารับประทานง่าย มีขายทั่วไปและรสชาติอร่อย ร้านผัดไทยแต่ละร้าน จะมีสูตรวิธีการปรุงและเทคนิคเฉพาะตัวของแต่ละร้านที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งสืบทอดต่อกันมาหลายปี ถึงมีการกล่าวว่า ประเทศไทยมีสารพัดแกงซึ่งสามารถกินไม่ช้าแต่ละวัน แต่ผัดไทยก็เช่นกันมีวิธีการปรุงซึ่งไม่ซ้ำกันแต่ละร้านเช่นกันว่าไปแล้ว ถ้าจะต้องเลือก "ผัดไทย" มาเป็นอาหารประจําชาติไทย ได้นั้นถือว่า น่าภาคภูมิใจอย่างมาก เพราะอาหารไทยทุกชนิด ล้วนแต่อร่อยและมีเอกลักษณ์ และรสชาติที่โดดเด่น ยากในการตัดสินใจที่จะเลือก อาหารไทยบ่งบอกและเต็มไปด้วยศิลปะและวัฒนธรรมไทย จึงเป็นที่รักใคร่ และได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วโลก ไม่แพ้ชาติไหนเลย



                                     
ขนมชั้น
ขนมชั้น เป็นขนมไทย ที่ถือเป็น ขนมมงคล และจะต้อง หยอด ขนมชั้น ให้ได้ 9 ชั้น เพราะ คนไทย มีความเชื่อ ว่าเลข 9 เป็น เลขสิริมงคล หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า และ ขนมชั้น ก็หมายถึงการได้ เลื่อนชั้น เลื่อยศถาบรรดาศักดิ์ ให้สูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไป

                                           
ขนมหม้อแกง
เป็นขนมพื้นเมืองโบราณเก่าแก่ของเหล่าแม่ๆทั้งหลายที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ขนมหม้อแกงถูกพัฒนาไปหลายแบบเพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มคนสมัยใหม่ อีกทั้งเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตัวเอง จึงมีสินค้าที่มีรสชาติและหน้าตาใหม่ๆ โดยอาจจะใส่เผือกหรือเมล็ดบัวลงไป เพื่อให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติอร่อยมากขึ้นอีกด้วย

ที่มา:http://thaifoodaomaom.blogspot.com/

ศาสนาและวัฒนธรรมประเทศไทย

ศาสนา

จากสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประชากรในประเทศไทยนับถือศาสนา 99.37% โดยแบ่งออกเป็นศาสนาพุทธ 93.83% ศาสนาอิสลาม 4.56% ศาสนาคริสต์0.80% ศาสนาฮินดู 0.086% ลัทธิขงจื๊อ 0.011% และอื่นๆ 0.079% และมีประชากรที่ไม่นับถือศาสนาและไม่ทราบศาสนา 0.27% และ 0.36% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการสำรวจขององค์การพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และกลุ่มศาสนา บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีชาวพุทธนิกายเถรวาทราว 85-90% และผู้นับถือศาสนาอิสลามอาจมีมากถึง 10% สำหรับผู้ไม่นับถือศาสนากรมการศาสนาประมาณการณ์ว่ามีน้อยกว่า 1% ของประชากรทั้งประเทศ

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมและประเพณี ศิลปกรรมไทยเป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงออกถึงความเป็นไทยที่มีความอ่อนโยน และสร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต จนได้ศิลปะประจำชาติที่มีลักษณะและรูปแบบเฉพาะ ส่วนใหญ่จะบอกเล่าเรื่องราว สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่แบบไทยตั้งแต่ครั้งเก่าก่อน สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนา สวยงามอ่อนช้อย และมีเรื่องราวกึ่งลึกกลับมหัศจรรย์


ที่มา:https://th.wikipedia.org/wiki/

แหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย


หาดป่าตอง อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 15 กิโลเมตร นับว่าเป็นหาดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของภูเก็ต เป็นชายหาดที่เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านดำน้ำ ร้านขายอุปกรณ์กีฬาทางน้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยว ด้วยชายหาดที่มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ป่าตองจึงเป็นหาดที่มีผู้นิยมมาเยือนมากที่สุด
หาดป่าตองถูกถล่มโดยคลื่นสึนามิจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ปัจจุบัน หาดป่าตองเป็นหนึ่งในหาดสำคัญที่ติดตั้งระบบเตือนภัยคลื่นสึนามิ มีการซ้อมอพยพและช่วยเหลือนักท่องเที่ยวอย่างสม่ำเสมอ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดพระแก้ว

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ที่นำมาจากกรุงเวียงจันทน์ และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส

วัดพระศรีรัตนศาสดารามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด การบูรณะครั้งใหญ่ทั้งพระอาราม มีขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี ใน พ.ศ. 2425 ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามในโอกาสที่มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ในรัชกาลปัจจุบันโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามอีกครั้งใน พ.ศ. 2525 เมื่อมีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์ประธานในการบูรณะ

วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ

ที่มา: https://th.wikipedia.org

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ภูมิศาสตร์ของประเทศไทย


          ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 513,115.06 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศอินโดนีเชียและพม่า เดิมได้แบ่งภูมิภาคของประเทศไทยออกเป็น4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ แต่ปัจจุบันได้แบ่งออกเป็น 6ภาค ได้แก่
          1. ภาคเหนือ
         2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
         3. ภาคตะวันตก
         4. ภาคกลาง
         5. ภาคตะวันออก
         6. ภาคใต้

ลักษณะของประเทศไทย
          ประเทศไทยมีความยาววัดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาวประมาณ 1,620 กิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดของประเทศวัดจากด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขระ จังหวัดกาญจนบุรีถึงตำบลช่องเม็ก อำเภอพิบุลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี มีความยาวประมาณ 750กิโลเมตรส่วนที่แคบสุดวัดจากตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ10.6 กิโลเมตร

อาณาเขตของประเทศไทย
          ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศพม่าและลาว มีทิวเขาแดนลาวและแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชา มีทิวเขาหลวงพระบาง พนมดงรัก และทิวเขาบรรทัด และแม่น้ำโขงเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศพม่า มีทิวเขาถนนธงชัย ทิวเขาตะนาวศรี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเมย และแม่น้ำปากจั่นเป็นพรมแดนธรรมชาติ
ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทยและประเทศมาเลเซีย มีแม่น้ำโกลก และทิวเขาสันกาลาคีรีเป็นพรมแดนธรรมชาติ

ที่มา : http://arunratduangta.blogspot.com/p/1_269.html

ยินดต้อนรับ



ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อกแนะนำข้อมูลพื้นฐานประเทศไทย